บทความเกี่ยวกับการบริหารการอุดมศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์
ที่เพื่อนทางเฟสบุ๊ค แชร์มาให้อ่านเช้าวันที่ 19 กรกฎาคม 2558 นี้
มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาก
อย่างแรก คือ ข้อความนี้ครับ
Comparison will be inevitable in a post-ASEAN integration era.
How are rankings influencing the Philippines’ higher education sector?
เขาตั้งคำถามว่าการจัดอันดับมีอิทธิพลต่อการบริหารการอุดมศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์อย่างไรบ้าง?
ถามทำไม ในเมื่อการจัดอันดับก็ทำให้รู้ว่าประเทศของเราอยู่ที่เท่าไรแล้ว
ผู้เขียนบทความดังกล่าว บอกว่ายุคหลังการบูรณาการ ASEAN อย่างเป็นทางการที่จะมาถึงปลายปีนี้ เราคงหนีการเปรียบเทียบผลการบริหารการศึกษากันไม่ได้
จากนั้นเขาก็นำเสนอ การจัดอันดับมาวิทยาลัยในอาเซียนโดยสถาบัน QA
ซึ่งจัดทำโดยสถาบัน Quacquarelli Symonds (QS) Asian และ world university rankings
เขาบอกว่าจากจำนวนสถาบันอุดมศึกษาในฟิลปปินส์นับพันแห่ง มีเพียง 4 สถาบันที่สามารถบริหารการศึกษาติดอันดับ World Rankings และ Asia Rankings โดย University of the Philippines อยู่แนวหน้า ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นที่ติดอันดับล้วนเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน
สำหรับ 100 มหาวิทยาลัยดีเด่นแห่งเอเซีย หรือ Asia’s top 100 universities for 2015 นั้น University of the Philippines เป็นเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ ขณะที่มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ มีถึง 12 มหาวิทยาลัยอาเซียนที่ติดอันดับหนึ่งในร้อยในเอเซีย
ผู้เขียนท่านนี้กล่าวต่อไปว่า ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์จะติดอันอันดับหนึ่งในร้อยในเอเซียเพียงแห่งเดียวคือ UP ก็ไม่เป็นไร แต่มันน่าคิดมากเมื่อมาดูการจัดอันดับของ Thomson Reuters’ Times Higher Education (THE) Asia University Rankings 2015 กลับพบว่า มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ทั้ง 4 แห่งนี้ไม่ติดอันดับเลย ขณะที่ สิงคโปร์และประเทศไทยติดหนึ่งในร้อยของเอเซีย ประเทศละ 2 มหาวิทยาลัย คือ
- National University of Singapore (Singapore)
- Nanyang Technological University (Singapore)
- King Mongkut’s University of Technology Thonburi (Thailand)
- Mahidol University (Thailand)
ในการจัดอันดับนี้ สถาบัน QA ให้น้ำหนักมากด้านชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย แต่ Asia University Rankings เน้นหนักด้านการวิจัย ซึ่งผู้เขียนท่านนี้บอกว่าเป็นด้านที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ (UP) รู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก
อย่างที่สอง เขากล่าวว่า ในยุคที่มีการเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศสมาชิก ASEAN การจัดอันดับมีหวังต้องส่งผลต่อมหาวิทยาลัยในประเทศฟิลิปปินส์อย่างแน่นอน
และเพิ่มเติมอีกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ในประเทศของเขามองว่า เกมการจัดอันดับนี้เป็นเกมด้านการรับรู้ ( “the rankings game is a perception game” for the Philippines)
ซึ่ง perception นี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติต่อผู้อื่น เพราะมันมักนำไปสู่การมีความรู้สึกว่าเราเหนือกว่าผู้อื่น เหนือกว่าเพื่อน อันนี้เขาก็อ้างคำพูดของกรรมการการอุดมศึกษาท่านหนึ่ง นามว่า Cynthia Bautista
จากความคิดนี้ เขาถามอีกนิดหนึ่งว่า เราจะทำ Bench Marking คือเปรียบเทียบกันและกัน เพื่อมาลงมือแข่งขันกันสร้าง Competitive Advantages หรือจะหันหน้ามาร่วมมือ (Collaboration) เพื่อส่วนรวมของ ASEAN
ข้อเขียนนี้ยังมีข้อคิดเห็นดีๆอีกหลายอย่างนะครับ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด จึงขอนำเสนอความคิดเห็นเพียงแค่นี้ก่อน
ท่านผู้อ่าน ลองตามลิงค์ไปดูบทความของเขา หรือจะดูบทความเรื่อง
ตัวชี้วัดความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ ในปี 2015
เพิ่มเติมก็ได้ครับ
ขอบคุณและสวัสดีครับ
<a href=”http://info.flagcounter.com/2TrP”><img src=”http://s01.flagcounter.com/count2/2TrP/bg_FFFFFF/txt_000000/border_CCCCCC/columns_2/maxflags_10/viewers_0/labels_0/pageviews_0/flags_0/percent_0/” alt=”Flag Counter” border=”0″></a>